พระราชดำริในการก่อตั้งมูลนิธืส่งเสริมศิลปาชีพฯ
นั้น มีมาตั้งแต่เมื่อครั้งตามเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนราษฎรในชนบท
เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2498 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทรงเห็นชาวบ้านนุ่งซิ่นไหมมัดหมี่กันเป็นส่วนใหญ่
จึงทรงเล็งเห็นว่าชาวบ้านมีฝีมือในงานหัตถกรรมอยู่แล้ว
จึงมีพระราชดำริส่งเสริมอาชีพให้แก่ชาวบ้าน
เพื่อได้มีรายได้ทดแทนกรณีที่ผลผลิตทางการเกษตรต้องเสียหาย ไม่ได้ผล
อันเนื่องจากภัยธรรมชาติ
ในช่วงแรกสมเด็จพระบรมราชินีได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ชาวบ้านทอผ้าไหมมัดหมี่ แล้วทรงรับซื้อเอาไว้ เป็นการสนับสนุน ฟื้นฟู
และพัฒนาฝีมือการทอในเบื้องต้น
เมื่อดำเนินการส่งเสริมอาชีพไประยะหนึ่ง
ก็ได้มีการจัดตั้งเป็นมูลนิธิขึ้น และได้ พระราชทานชื่อมูลนิธิว่า
"มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษในพระบรมราชินูปถัมภ์" ผู้ถวายนามคือ สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก โดย ม.ร.ว.ทองน้อย
ทองใหญ่ รองราชเลขาธิการ ได้คิดชื่อภาษาอังกฤษถวายว่า "The Foundation For the Promotion
of Supplementary Occupations and Related Techniques under the Royal Patronage
of Her Majesty the Queen"
มีชื่อย่อว่า SUPPORT และสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ ทรงรับเป็นประธานกรรมการบริหารของมูลนิธิ โดยมีสำนักงานของมูลนิธิที่สวนจิตรลดากรุงเทพมหานคร สมเด็จพระบรมราชินีนาถได้พระราชทานทุนเริ่มแรกจำนวนหนึ่งล้านบาทถ้วน
ต่อมาใน พ.ศ. 2531 คณะกรรมการบริหารของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ
พิจารณาเห็นว่า สมาชิกของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ
ยึดศิลปาชีพเป็นอาชีพหลักกันมากมิได้ทำเป็นอาชีพเสริม
และองค์ประธานมูลนิธิก็ทรงบริหารกิจการด้วยพระองค์เอง
มิได้เป็นเพียงการพระราชทานพระบรมราชินูปถัมภ์
จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อของมูลนิธิจาก "มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษในพระบรมราชินูปถัมภ์"
เป็น มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ ชื่อภาษาอังกฤษว่า The
Foundation of the Promotion of Supplementary Occupations and Related Techniques
of Her Majesty Queen Sirikit of Thailand ชื่อย่อว่า SUPPORT เช่นเดิม
ปัจจุบันมูลนิธิมีศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพกระจายอยู่ทั่วทุกภาค
และมีโครงการส่งเสริมศิลปาชีพในหลายจังหวัดทั่วประเทศ
ศูนย์ศิลปาชีพทั่วประเทศ
มีดังนี้
1.
ศูนย์กลางศิลปาชีพ ณ
สวนจิตรลดา
2.
ศูนย์ศิลปาชีพพิเศษ
บางไทร อยุธยา
3.
ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม
สกลนคร
4.
ศูนย์ศิลปาชีพพิเศษ
บ้านจาร สกลนคร
5.
ศูนย์ศิลปาชีพพิเศษบ้านทรายทอง
สกลนคร
6.
ศูนย์ศิลปาชีพบ้านหัวยเดื่อ
แม่ฮ่องสอน
7.
ศูนย์ศิลปาชีพจังหวัดแม่ฮ่องสอน
8.
ศูนย์ศิลปาชีพบ้านแม่ต๋ำ
เชียงใหม่
9.
ศูนย์ศิลปาชีพเครื่องปั้นดินเผา
ลำปาง
10.
ศูนย์ศิลปาชีพบ้านวัดจันทร์
เชียงใหม่